
ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง เรียกโชคลาภ เสริมดวงเฮง บูชาพารวย
ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง เรียกโชคลาภ เสริมดวงเฮง บูชาพารวย
สืบเนื่องจากพระโพธิสัตว์เคยเสวยพระชาติเป็นปลาตะเพียน และชื่อของปลาตะเพียนเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า “เพียร” ซึ่งหมายถึง ความขยันหมั่นเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
วัตถุมงคลรูปปลาตะเพียนคู่หันหน้าเข้าหากัน จึงถือเป็นเครื่องรางยอดนิยมพุทธคุณที่ดีเยี่ยม เสริมเรื่องด้านการค้าขาย ,เมตตา และด้านโชคลาภ เป็นวัตถุมงคลในเรื่องการพยุวฐานะ หรือสร้างฐานะ
โดยปรกติการจัดสร้างมักสร้างเป็นคู่ตะเพียนเงินตะเพียนทอง มีความหมายถึงการเจริญก้าวหน้า เหมือนปลาที่สืบทอดสายพันธุ์ไม่มีวันหมด และเหมาะสำหรับคู่แต่งงานถือเป็นเคล็ดการครองคู่ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
พระคาถาอักขระยันต์ ที่มาการลงที่ตัวปลาตะเพียนนั้น มีด้วยกันหลากหลายแบบ ตามตำราของครูบาอาจารย์แต่ละรูปที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาแต่ส่วนมากจะเป็นหัวใจพระคาถาที่มีอานิสงส์ทางลาภสักการะ เมตตา มหานิยม อาทิ นะชาลีติ (หัวใจพระสีวลี) นาสังสิโม (หัวใจพญาเต่าเลือน) อุอากะสะ (หัวใจมหาเศรษฐี)
นอกจากนั้นในปลาตะเพียนบางสำนักยังมีการลงอักขระยันต์ที่แตกต่างกันไป อาทิ นะมะพะทะ (ตั้งธาตุทั้ง 4) ยันต์ตรีนิสิงเห (เมตตา โชคลาภ) เป็นต้น
กล่าวกันว่า หลังจากทำ “ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง” ผ่านพิธีปลุกเสกลงอักขระเลขยันต์แล้วให้ห้อยหันหน้าเข้าหากัน แขวนบูชาหน้าร้านค้า ทุกเช้าบูชาด้วยการยกขันน้ำมนต์ขึ้นไปแช่ตัวปลา แล้ว…อธิษฐานตามใจปรารถนา
คาถาบูชาปลาตะเพียนเงินตะเพียนทอง
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
นะมามีมา นะมะหาลาภา ภะวันตุ เม.
โดยให้ บูชาตามกำลังวันเกิด คือ บุคคลผู้เกิด วันอาทิตย์ ภาวนา ๖ จบ วันจันทร์ ภาวนา ๑๕ จบ วันอังคาร ภาวนา ๘ จบ วันพุทธ ภาวนา ๑๗ จบ วันพฤหัสบดี ภาวนา ๑๙ จบ วันศุกร์ ภาวนา ๒๑ จบ วันเสาร์ ภาวนา ๑๐ จบ
สรุป
การบูชา ปลาตะเพียนเงิน ปลาตะเพียนทอง เสริมเรื่องด้านการค้าขาย ,เมตตา และด้านโชคลาภ
เว็ปไซต์พารวย ขอสนับสนุนให้ทุกท่าน เสี่ยงโชคอย่างถูกกฎหมาย
และทางเว็ปไซต์ ไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อการทำสิ่งผิดกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น
¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของตัวเลข
พารวยไลฟ์ – พาหาเลข – ** บูชาพารวย – สูตรหวยพารวย – พารวยตรวจเลข
ที่นี่ paruay.co
¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨ ¨